เทคนิคการสอนแบบ PBL
ลิ้งก์รูปแบบการสอนเพิ่มเติม
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
2. กลุ่มปัญญานิยม
3. กลุ่มมนุษยนิยม
ลิงก์วีดีโอ
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
2. กลุ่มปัญญานิยม
3. กลุ่มมนุษยนิยม
การใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหา ที่เกิดขึ้นโดยการสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่มีความสำคัญต่อผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง
สร้างองค์ความรู้
โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหา
สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
คือ ปัญหา เพราะปัญหาที่ดีจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่หาความรู้ ในการเลือกศึกษาปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
จะต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้
ความสามารถของผู้ของผู้เรียน ประสบการณ์ความสนใจ และภูมิหลังเพราะคนเรามีแนวโน้มที่สนใจเรื่องใกล้ตัวมากกว่าเรื่องไกลตัว
สนใจสิ่งที่มีความหมาย มีความสำคัญต่อตนเองและเป็นเรื่องที่ตนเองใคร่รู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่
1 กำหนดปัญหา
จัดสถานการณ์ต่างๆกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
และมองเห็นปัญหา สามารถกำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียนเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ
ขั้นที่
2 ทำความเข้าใจกับปัญหา
ปัญหาที่ต้องการเรียนรู้
ต้องสามารถอธิบายสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้
ขั้นที่
3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการหลากหลาย
ขั้นที่
4 สังเคราะห์ความรู้
ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นที่
5 สรุปและประเมินค่าหาคำตอบ
ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
สรุปผลงานของกลุ่มตนเอง และประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
โดยพยายามตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระ
ทุกกลุ่มช่วยกันสรุปองค์ความรู้ ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง
ขั้นที่ 6
นำเสนอและประเมินผลงาน
ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้
และนำเสนอเป็นผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย
ผู้เรียนทุกกลุ่ม
ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาร่วมกันประเมินผลงาน
ลักษณะที่สำคัญของ PBL
-
- ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
(student-centered
learning)
-
- การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก
- - ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide)
-
- ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
-
- ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือไม่ชัดเจน
ปัญหา 1 ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง (illed- structure problem)
-
- ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่
ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
-
- ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ
(authentic
assessment)
หากมองโดยภาพรวมแล้ว PBL เป็นรูปแบบการสอนที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง
เพราะสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือ
ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์
คิดแก้ปัญหาและคิดอย่างสร้างสรรค์
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีโอกาสออกไปแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งทรัพยากรเรียนรู้
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
ในส่วนของผู้สอนก็จะลดบทบาทของการเป็นผู้ควบคุมในชั้นเรียนลง
แต่ผู้เรียนจะมีอำนาจในการจัดการควบคุมตนเอง
ส่วนจะหาความรู้ใหม่ได้มากหรือน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ความประสงค์ของผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนเป็นฝ่ายรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
การที่ผู้เรียนต้องหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ทำให้การเรียนรู้เป็นกระบวนการตลอดชีวิต (lifelong process) เพราะความรู้เก่าที่ผู้เรียนมีอยู่แล้วจะถูกนำมาเชื่อมโยงให้เข้ากับความรู้ใหม่ตลอดเวลา จึงทำให้ผู้เรียนเป็นคนไม่ล้าหลัง ทันเหตุการณ์
ทันโลก และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมโลกในอนาคตได้อย่างดีที่สุด
แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้
ศึกษาทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย
มีการสังเคราะห์งาน มีการวางแผนการทำงานสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
หาวิธีแก้ปัญหา
หากพบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้
ก็จะปรึกษาเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
รวมทั้งได้นำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย
ลิ้งก์รูปแบบการสอนเพิ่มเติม
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
1.1 วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา -https://www.gotoknow
.org/posts/212393
1.2 วิธีการสอนแบบโครงงาน - https://www.gotoknow.org/posts/205675
1.3 วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ - https://www
.gotoknow.org/posts/506108
1.4 การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย - http://innovation.kpru.ac.th
/web18/551121828/innovation/index.php/deductive -method
1.5การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย- https://www.gotoknow.
2. กลุ่มปัญญานิยม
2.1 การสอนแบบรวบยอด - https://sites.google.com/site/bthreiyn1234/rup-baeb-kar-reiyn-kar-sxn-khwam-khid-rwb-yxd
2.2 การสอนแบบสืบสวนสอบสวน http://innovation
kpru.ac.th/web18/551121844/innovation/index.php/learning2
2.3 การสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ - https://www.slideshare.net/moddw/ss-44448794
3. กลุ่มมนุษยนิยม
3.1 วิธีสอนแบบอภิปราย - https://www.gotoknow.org/posts/201280
3.2 วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ - http://www.neric-club.com/data.php?page=9&menu_id=76
3.3 วิธีสอนแบบหน่วย - http://www.neric-club.com/data.php?page=4&menu_id=76
3.4 วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน - http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121822/innovation/index.php/2014-02-05-07-04-26
3.5 การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ - https://sites.google.com/site/khunkrunong/n8
3.6 วิธีสอนแบบทีม - https://www.slideshare.net/yaowaluckinsri/ss-26690748
ลิงก์วีดีโอ
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
1.1 วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา - https://www.youtube.com/watch?v=yDKPgMcN9-w
1.2 วิธีสอนแบบโครงงาน - https://www.youtube.com/watch?v=01Reaclu0DY
1.3 วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท - https://www.youtube.com/watch?v=73N6qFrDzYc
1.4 วิธีการสอนแบบนิรนัย - https://www.youtube.com/watch?v=B_mLDCbbTUg
1.5 การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย - https://www.youtube.com/watch?v=FdnvTTV4WWc
2. กลุ่มปัญญานิยม
2.1 การสอนแบบรวบยอด - https://www.youtube.com/watch?v=1iL4W_2Cu2s
2.2 การสอนแบบสืบสวนสอบสวน -https://www.youtube.com/watch?v=1D1V3D9OIXs2.3 การสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ - https://www.youtube.com/watch? v=MjMfP2Qxwoc
2.4 การสอนโดยการใช้สมองเป็นพื้นฐาน - https://www.youtube.com/watch?v=_ARaEhfoFqI
2.5 การสอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน - https://www.youtube.com/watch?v=qBvMvS2CCrw
3. กลุ่มมนุษยนิยม
3.1 วิธีสอนแบบอภิปราย - https://www.youtube.com/watch?v=As0fPDw6ezE
3.2 วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ - https://www.youtube.com/watch?v=ypv7yNNfq9U
3.3 วิธีสอนแบบหน่วย - https://www.youtube.com/watch?v=Cc8c-j-_R2Q
3.4 วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน - https://www.youtube.com/watch?v=dyErJKemarY
3.5 การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ - https://www.youtube.com/watch?v=wV-A-LUXkE4
3.6 วิธีสอนแบบทีม - https://www.youtube.com/watch?v=zchuOnvmEic
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น